การประหยัดพลังงาน (Energy Saving) มีความเกี่ยวข้องกับการประหยัดคาร์บอน (Carbon Saving) อย่างใกล้ชิด ปัจจุบัน Trend Sustainability มีบทบาทอย่างมาก ในหลายๆ กลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งเมื่อเราพูดถึงคำ คำหนึ่งที่มักพูดกันอย่างติดปากคือ Carbon Footprint
ถ้าจะอธิบายอย่างง่าย Carbon footprint คือ ปริมาณ carbon ที่ถูกผลิตออกมาสำหรับการผลิตตัวสินค้านั้นๆ ซึ่งองค์ประกอบของ carbon footprint จะแบ่งแยกย่อยเป็น 3 หัวข้อได้แก่
คาร์บอนฟุตปริ้นของมนุษย์ (Carbon Footprint of human) คือปริมาณ carbon ที่ถูกผลิตออกมาโดยมนุษย์
คาร์บอนฟุตปริ้นของสินค้า (Carbon Footprint of product) ปริมาณ carbon ที่ถูกผลิตออกมาจากตัว raw material ที่นำมาทำเป็นตัวสินค้า
คาร์บอนฟุตปริ้นขององค์กร (Carbon Footprint of Organizations) คือ ปริมาณ carbon ที่ถูกผลิตออกมาจากองค์กร ซึ่งจะแยกย่อยได้เป็นอีกทั้งหมด 3 อย่างได้แก่
- แบบ Direct หรือแบบทางตรง เช่น การเผาขยะทำให้เกิด carbon ออกสู่อากาศได้อย่างชัดเจน การเดินทางโดยใช้ยานพาหนะ ขององค์กร ก็จะเกิดมลพิษแก่ท้องถนน
- แบบ Indirect หรือแบบทางอ้อม คือ การใช้พลังงานไฟฟ้าที่ไม่ได้ผลิตเอง ซึ่ง concept หลักๆนั้นมาจากว่า ประเทศไทย โรงไฟฟ้าส่วนใหญ่นั้นเป็นโรงไฟฟ้าแบบถ่านหิน เมื่อเราใช้ปริมาณไฟฟ้า เท่ากับว่าเรานำถ่านหินไปเผาทำให้เกิด carbon และก่อมลพิษได้
เมื่อเรารู้แล้วว่า การใช้พลังงานไฟฟ้าที่ไม่ได้ผลิตเองนั้น เป็นการก่อให้เกิดปริมาณ carbon แบบทางอ้อมซึ่งในระบบอัดอากาศพลังงานไฟฟ้า ก็ยังเป็นต้นกำลังเพื่อให้ได้ลมอัดออกมาใช้งาน เราจึงพยายามให้ความรู้ข้อมูลแก่ผู้ประกอบการถึงเรื่องการลดการใช้ค่าพลังงานโดยเปล่าประโยชน์เพื่อลดคาร์บอน (Carbon Saving)
การลดค่าพลังงานไฟฟ้าของ ระบบ air compressor นั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบดังนี้
ปรับตั้งค่า pressure ใช้งานให้เหมาะสม ในกรณีที่เราใช้ pressure ที่ 6 bar ไม่ได้มีความจำเป็นที่จะตั้งค่า pressure ขึ้นที่ 8 bar เนื่องจากว่า ค่า pressure ที่เราตั้งสูงขึ้น 1 bar นั้น จะทำให้กินไฟมากขึ้นประมาณ 7%
การเดินท่อลมในโรงงานให้ถูกต้องตามหลักการมาตรฐาน จะต้องเดินเป็นแบบ ring loop เนื่องจากว่าการเดินแบบ ring loop นั้น จะทำให้ไม่เกิด pressure drop ที่ปลายทาง แต่ถ้าเราเดินแบบ Branch main หรือเดินแบบก้างปลา สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ pressure drop ที่ปลายทาง ซึ่ง บุคลากรที่ดูแลตรงเครื่องปั๊มลมก็จะไปตั้งค่า pressure ต้นทางให้ขึ้นไปเพื่อให้ปลายทางใช้งานได้ ทั้งนี้จากข้อที่ 1 Pressure ที่สูงขึ้น 1 bar จะกินไฟเพิ่มขึ้นประมาณ 7%
การเลือกใช้งานเครื่อง air compressor ให้เหมาะสมกับความต้องการลมของโรงงาน เช่น โรงงานต้องการ ใช้ลมประมาณ 70% เราจะมีการ design air compressor ขึ้นไปที่ 100% เพื่อให้มีช่วงระยะเวลา Unload ประมาณ 30% ทั้งนี้ถ้าเลือกเครื่องที่ใหญ่มากเกินไปค่า %Unload ก็จะสูง ซึ่งช่วง Unload เมื่อมี %ที่เยอะนั้นจะทำให้เราสูญเสียค่าไฟโดยเปล่าประโยชน์ โดยปกติแล้วไม่ควรเกิน 30% แต่ถ้าผู้ประกอบการท่านใดมีการตรวจเช็คแล้วว่า เครื่องปั๊มลมสกรูของเรานั้นมีค่า Unload ที่สูงเกินมาตรฐาน สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีติดตั้ง Inverter เพื่อ control ระบบ ให้ผลิตลมได้ตรงตามความต้องการใช้งาน
เลือกใช้ air compressor ที่เป็น เทคโนโลยีปัจจุบัน เนื่องจากว่า จะสามารถทำปริมาณลมได้สูงกว่า ยกตัวอย่างเช่น air compressor แบรนจีน ขนาด 20hp ทำปริมาณลมได้ 2.0 m3/min แต่ air compressor แบรน delta ทำปริมาณลมได้ 2.6 m3/min ซึ่งจะเห็นว่าเราจ่ายค่าไฟเท่ากันแต่เราได้ลมออกมาใช้ไม่เท่ากัน ทั้งนี้เรื่องของต้นทุนต่อหน่วยลมที่ใช้งานก็มีความสำคัญมากเช่นกัน
เมื่อเราทราบแล้วว่า วิธีการลดค่าไฟในระบบอัดอากาศสามารถทำโดยวิธีไหนได้บ้าง เราสามารถวัดผลก่อนและหลักดำเนินการเพื่อหาค่า Kwh ที่สามารถลดลงไปได้
สูตรคำนวณ แปลงจากค่าไฟเป็น ปริมาณ Carbon Saving
Emission = Activity data x Emission factorCarbon saving = การลดใช้พลังงานไฟฟ้า (Kwh) x 0.5610 (kgCo2e/Kwh)