เมื่อพูดถึง Mainline Filter แล้ว ก็ต้องเริ่มจากการวิเคราหะ์ถึงระบบการผลิตลมจากเครื่องปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศนั้นจะทำการสร้างลมโดยการอัดอากาศให้ได้ตามความดันที่ต้องการแล้วปล่อยลมนั้นออกมาซึ่งทำให้ น้ำ สิ่งสกปรกขนาดเล็กหรือน้ำมันที่ใช้ในการหล่อลื่นภายในปั๊มลมนั้นสามารถหลุดออกมากับลมที่ผลิตได้ดังนั้นระบบผลิตลมจำเป็นต้องมี Mainline Filter เพื่อทำหน้าที่ในการกรองสิ่งสกปรกหรือละอองน้ำมันออกจากลมก่อนนำไปใช้ โดย Filter นี้ที่ใช้กับปั๊มลมนั้นสามารถแบ่งได้ออกเป็น4 ชนิดซึ่งแต่ละชนิดนั้นสามารถทำหน้าที่ในการกรองสิ่งปนเปื้อนที่มีขนาดและลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้
- Mainline Filter P เป็น Filter ที่มีตัวกรองขนาด 3 ไมครอนซึ่งทำหน้าที่ในการกรองสิ่งปนเปื้อนขนาดใหญ่กว่า 3 ไมครอน โดย Filter นี้จะเหมาะกับผู้ประกอบการที่ใช้ลมในการล้างเครื่องมือหรือใช้เครื่องเชื่อมโลหะ
- Mainline Filter M เป็น Filter ที่มีตัวกรองขนาด 1 ไมครอนและตัวกรองน้ำมันขนาด 0.5 ppm. ซึ่งจะทำหน้าที่ในการกรองสิ่งปนเปื้อนที่มีขนาดใหญ่กว่า1 ไมครอนและดักจับน้ำมันที่มีความเข้มข้นมากกว่า 0.5 ppm. โดย Filter นี้จะเหมาะกับผู้ประกอบการในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปเช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ โรงงานเหล็ก โรงงานพลาสติก และเครื่องมือนิวแมติกส์(Pneumatic Tools)
- Mainline Filter S เป็น Filter ที่มีตัวกรองขนาด 0.01 ไมครอนและตัวกรองน้ำมันขนาด 0.01 ppm. ซึ่งจะทำหน้าที่ในการกรองสิ่งปนเปื้อนที่มีขนาดใหญ่กว่า0.01 ไมครอนและดักจับน้ำมันที่มีความเข้มข้นมากกว่า 0.01 ppm. โดย Filter นี้จะเหมาะกับผู้ประกอบการในโรงงานขนสัตว์และโรงงานที่เครื่องมือนิวแมติส์ (Pneumatic Tools)
- Mainline Filter A เป็น Filter ที่มีตัวกรอง Activated Carbon ขนาด 0.003 ppm.ซึ่งตัว Activated Carbon นั้นจะทำหน้าที่ในการดูดซับกลิ่นต่างๆเพื่อให้ลมที่ออกมาไม่มีกลิ่นน้ำมันหรือกลิ่นต่างๆเพราะในการกระบวนการผลิดบางชนิดจำเป็นต้องใช้ลมที่มีความสะอาดมาก เช่นการผลิตอาหาร ยา เครื่องมือแพทย์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ลมที่ใช้ต้องเป็นลมที่ไม่มีกลิ่นปนเปื้อนเพราะจะส่งผลต่อกระบวนการผลิตได้จึงจำเป็นต้องมีตัวกรองกลิ่นก่อนนำลมนั้นไปใช้ต่อไป
การติดตั้ง Mainline Filter นั้นต้องติดตั้งโดยเริ่มจาก Filter ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดก่อนแล้วจึงผ่านไปสู่ Filter ที่มีขนาดเล็กลงไป
จากภาพหากผู้บริโภคเป็นโรงงานผลิตอาหารนั้นควรที่จะใช้ลมที่มีความสะอาดที่สุดปราศจากสิ่งปนเปื้อนจึงควรใช้Filter P → M → S → A ตามลำดับโดยเริ่มต้นจากใหญ่สุดไปถึงเล็กสุดเพื่อช่วยป้องกันการอุดตันของ Filter หากมีข้อสงสัยหรือมีปัญหาเกี่ยวกับเครื่องอัดลมหรือปั๊มลมทางบริษัท เดลต้า แอร์คอมเพรสเซอร์ (เอเซีย) จำกัด มีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาในการเลือกใช้เครื่องอัดอากาศ(Air Compressor)เครื่องเป่าลมแห้ง (Air Dryer)และตัวกรองอากาศ ของปั๊มลมต่างๆตามความต้องการของผู้บริโภค