ปัญหาที่พบเจอส่วนมากในระบบอัดอากาศ คือ ปัญหาเรื่องของน้ำที่เกิดขึ้นจากระบบอัดอากาศ หรือเครื่องปั๊มลมนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องอัดอากาศประเภทลูกสูบ หรือ เครื่องปั๊มลมประเภทสกรู ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดน้ำในขั้นตอนการอัดอากาศได้ทั้งสิ้น มาดูกันว่าน้ำที่เกิดขึ้นนั้น มีสาเหตุมาจากอะไร
เครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบและปั๊มลมสกรูนั้น จำเป็นต้องดึงอากาศบริเวณโดยรอบที่เราใช้หายใจมาทำการอัด เพื่อให้ได้แรงดันตามที่ตั้งไว้หรือตามที่ต้องการ ซึ่งในบรรยากาศปกตินั้นจะมีความชื้นอยู่แล้วหมายถึงมีน้ำอยู่ในอากาศนั่นเอง แต่ที่เราไม่เห็นเป็นน้ำ เนื่องจากน้ำพวกนี้ยังไม่เกิดการควบแน่น จึงอยู่ในบรรยากาศในสถานะไอหรือแก๊สนั่นเอง ซึ่งระบบอัดอากาศแบบลูกสูบและปั๊มลมสกรูนั้น จะดึงบรรยากาศโดยรอบเข้ามาอัดให้ได้แรงดัน โดยส่วนมากจะอัดขึ้นไปที่ 8 เท่าของบรรยากาศปกติ หรือ 8 bar(g) นั่นเอง อากาศที่ถูกอัดขึ้นไป 8 เท่านั้น ล้วนมีไอน้ำที่ถูกอัดอยู่ด้วยทั้งสิ้น แต่เมื่อเข้าไปในเครื่องอัดอากาศจะยังไม่เกิดเป็นน้ำ เนื่องจากพลังงานที่ใช้ในการอัดกาศโดยทั่วไปขึ้นไปที่ 8 เท่านั้น ใช้พลังงานค่อนข้างมาก ทำให้อากาศที่ถูกอัดนั้นมีอุณหภูมิสูง และน้ำที่อยู่ในอากาศล้วนยังมีสถานะเป็นไออยู่
สาระน่ารู้ : จากสูตร PV=nRT , เมื่อปริมาณของอากาศอัด (V) เท่าเดิม แต่แรงดันเพิ่มขึ้น (P) ทำให้อุณหภูมิเพิ่ม (T) ขึ้นด้วย
คำถามต่อมาคือ แล้วน้ำเกิดขึ้นช่วงไหนละ?
จากที่ทราบกันอยู่แล้วว่า เราจะไม่พบน้ำในระบบอัดอากาศ เนื่องจากขณะอัดอากาศนั้น อุณหภูมิของอากาศอัดค่อนข้างสูง จึงทำให้น้ำยังอยู่ในสถานะเป็นไอ เมื่ออากาศออกจากเครื่องอัดอากาศจะมีอุณภูมิอยู่ที่ 50 องศาเซลเซียสและจะเข้าไปพักตัวในถังลม ขณะที่ลมพักตัวในถังลมนี่แหละครับ ที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากอากาศที่ถูกอัดมานั้นจะมาพักตัวและเย็นลงที่ถังพักลม จะสังเกตุได้ว่าจะเกิดน้ำในถังลมค่อนข้างมาก จึงจำเป็นต้องมีการเดรนน้ำในทุก ๆ วัน เพื่อให้น้ำออกไปจากระบบลมของเรานั่นเอง
แต่ลมจะพักในถังลมและแยกน้ำได้บางส่วนเท่านั้น จะมีอุปกรณ์อีกตัวหนึ่งเรียกว่า เครื่องทำลมแห้ง จะทำหน้าที่ทำให้ลมของเราปราศจากน้ำอย่างสิ้นเชิงเลย ดังนั้นสำหรับผู้ประกอบการที่มีระบบลมอัด หรือเครื่องอัดอากาศใช้งานอยู่แล้วและพบเจอปัญหานี้ สามารถตรวจเช็คเบื้องต้นได้ดังนี้นะครับ
- การเดรนน้ำที่ถังลมอย่างสม่ำเสมอ
- การเลือกใช้เครื่องทำลมแห้งในระบบ ให้มีขนาดที่เหมาะสมกับเครื่องอัดอากาศชนิดนั้น ๆ