Air Dryer เครื่องทำลมแห้ง คือเครื่องที่ใช้ทำงานควบคู่ไปกับ Air Compressor หรือ เครื่องปั๊มลม มีหน้าที่หลักในการลดปริมาณน้ำและความชื้นที่ปนมาในระบบลมอัด เพื่อให้ได้ลมที่สะอาดปราศจากความชื้นเพื่อนำไปใช้งานต่อได้อย่างสมบูรณ์ หลักการทำงานและประโยชน์ของเครื่องทำลมแห้ง โดยปกติลมที่ถูกผลิตจากเครื่องปั๊มลมนั้นจะมีน้ำและความชื้นปะปนมาด้วย เมื่อต้องการนำลมไปใช้งาน เครื่องจักรทั่วไปจะไม่ต้องการน้ำ ละอองน้ำ หรือ ความชื้นปะปนมากกับลม และตัวกรองลม (Air Filter) ทั่วไปแล้วจะไม่สามารถกรองน้ำและความชื้นได้เครื่องทำลมแห้งจึงเป็นตัวที่จะช่วยนำน้ำหรือความชื้นให้เกิดการควบแน่นด้วยน้ำยาทำความเย็นหรือเม็ดสารดูดความชื้นแล้วระบายน้ำออกมา ทำให้ได้ลมที่มีความแห้งและบริสุทธิ์
เครื่องทำลมแห้ง มีหน้าที่ดูดความชื้นจากลมที่ผลิตมาจาก เครื่องอัดลม หรือ ปั๊มลม ก่อนที่จะนำไปใช้ในการผลิตหรือใช้งานต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดน้ำในระบบก่อนนำไปใช้ เครื่องทำลมแห้งจะลดอุณหภูมิลมที่มาจากเครื่องอัดลมให้อยู่ที่ 2 - 10 องศาเซลเซียส เครื่องทำลมแห้งจะมีสารทำความเย็นในการควบแน่นความชื้นที่อยู่ในลมให้กลายเป็นของเหลว แล้วทำการระบายออกมา การเลือกเครื่องทำลมแห้งนั้นต้องดูจากอัตราการผลิตลมของเครื่องอัดลมว่าสามารถผลิตได้ปริมาณเท่าไร และ ต้องคำนึงถึงอุณหภูมิและความชื้นของสถานที่ติดตั้ง ซึ่งจะมีผลต่อการทำความเย็นของเครื่องทำลมแห้งด้วย โดยแต่ละยี่ห้อจะมีค่าสัมประสิทธิ์ (Coefficient) หรือ ค่าแฟคเตอร์ (Factor) ที่ใช้ในการคำนวณเพื่อเลือกรุ่นเครื่องทำลมแห้งที่ต่างกัน โดยในการติดตั้งส่วนใหญ่จะติดตั้งเครื่องทำลมแห้งในระบบลมหลังจากที่ลมได้พักจากถังพักลมมาแล้ว ถังพักลมจะช่วยลดอุณหภูมิของลมได้ส่วนหนึ่ง เพื่อเป็นการลดภาระของเครื่องทำลมแห้งนอกจากนี้เพราะลมที่ได้จาก Air Compressor (เครื่องปั๊มลม) โดยตรงนั้นเป็นลมที่มีความชื้นอิ่มตัว 100% ซึ่งความชึ้นที่มีอยู่ในลม จะเกิดเป็นหยดน้ำภายในระบบลมของเรา เมื่อมีอุณหภูมิลดลงหยดน้ำและลมชื้นนี้จะสร้างความเสียหายให้กับระบบลมของเราได้ แถมยังมีโอกาสที่จะสร้างความเสียหายกับสินค้าของเราอีกด้วย
สำหรับหลักการทำงานของ Air Dryer อธิบายง่ายๆ ก็คือ ปกติแล้ว ตัวกรองลมที่เราใช้งานกันอยู่โดยทั่วไปที่มากับปั๊มลมนั้น จะไม่สามารถกรองความชื้นหรือว่าน้ำในระบบลมได้ จึงต้องอาศัยตัวช่วยอย่างเจ้า เครื่องทำลมแห้งนี้ ในการนำความชื้นและน้ำออกจากระบบลมเพื่อให้ได้ลมที่บริสุทธิ์ปราศจากความชื้น เมื่อนำไปใช้งานก็จะไม่ส่งผลเสียต่ออุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องนั่นเอง
ประเภทของ Air Dryer นั้น สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทด้วยกันคือ
1. Refrigerated Air Dryer เป็นเครื่องทำลมแห้งที่ใช้น้ำยาทำความเย็น มี Dew Point (จุดทำความเย็น) อยู่ที่ราว 2-10 องศาเซลเซียส โดยสามารถกำจัดน้ำออกจากลมได้ประมาณ 96 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งน้ำยาทำความเย็นที่ใส่มาจะทำให้ความชื้นเปลี่ยนเป็นหยดน้ำก่อนที่จะระบายออกไปจากระบบลม โดย Refrigerated Air Dryer นั้นจะเหมาะกับการใช้งานลมที่แห้งแต่ความสะอาดไม่ต้องถึงขั้นบริสุทธิ์มากนัก ราคาไม่สูงมาก การดูแลรักษาไม่ยุ่งยากจนเกินไป
โดยทาง Delta compressor ได้มี Campaign ใหม่ เพื่อให้เข้า concept ลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกและลดภาวะโลกร้อน ภายใต้ concept Delta think green คือ Refrigerated dryer รุ่นใหม่ มาพร้อมกับระบบ VSD controlled โดย Dryer มีหน้าที่ในการทำให้ลมอัดนั้นปราศจากน้ำและน้ำมันโดยมี capacity ถึง 2- 200 m3/min 3 °C ซึ่งเทคโนโลยี VSD controlled นี้สามารถประหยัดพลังงานมากถึง 25% ด้วยกัน พูดง่ายๆ ถ้าคุณเสียค่าไฟปกติ 1,000,000 บาทต่อปี คุณจะเสียค่าไฟแค่ประมาณ 750,000 บาทต่อปี ประหยัดได้มากถึง 250,000 บาทต่อปี
2. Desiccant Air Dryer เป็นเครื่องทำลมแห้งที่ใช้เม็ดสารดูดความชื้น มี Dew Point (จุดทำความเย็น) อยู่ที่ราว -20 ถึง -70 องศาเซลเซียส จุดเด่นก็คือตัวเม็ดสารดูดความชื้นจะช่วยให้ได้ลมที่แห้งและบริสุทธิ์มากเป็นพิเศษ มักมีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมยาหรืออาหารที่ต้องการความสะอาดสูง อย่างไรก็ตามเนื่องจาก Desiccant Air Dryer นั้นมักมีการติดตั้งระบบระบายความร้อนมาในตัวทำให้หากเทียบกันแล้วค่อนข้างสิ้นเปลืองพลังงานมากกว่าแบบแรกราว 15-20 เปอร์เซ็นต์ด้วยกัน
การทำงานของเครื่องทำลมแห้งชนิดเม็ดสาร ( desiccant air dryer) จะแบ่งออกเป็น 2 Tower ดังภาพด้านบน โดยอากาศจากปั๊มลม ( air compressor) ผ่านเข้า pre-filter (กรองอากาศชนิดหยาบ) และ final filter (กรองอากาศชนิดละเอียด) เข้าสู่ Tower A โดยลมที่มีความชื้นจะวิ่งผ่าน actuator valve ที่เปิดอยู่ (ในขณะเดียวกัน actuator valve ฝั่ง Tower B ก็จะคงสถานะปิด) เมื่อลมที่มีความชื้นวิ่งผ่านเม็ดสารภายใน Tower A เม็ดสารที่อยู่ภายในถังจะทำการดักจับความชื้น และปล่อยเฉพาะลมแห้งออกนอกเครื่องผ่านตัว particle filter (กรองอากาศฝุ่นแห้ง) ที่ออกแบบมาสำหรับดักจับฝุ่นที่เกิดจากการแตกตัวของเม็ดสารดูดความชื้น หลังจากนั้นลมจะผ่านออกจากเครื่องเข้าสู่ระบบ ส่งต่อเข้ากระบวนการผลิตภายในโรงงาน
ในขณะเดียวกันลมแห้งที่ถูกสร้างภายใน Tower A จะถูกแบ่งบางส่วนเข้าสู่ Tower B ผ่านตัว nozzle เพื่อนำไปใช้สำหรับฟื้นสภาพเม็ดสารที่เกิดการอิ่มตัวจากการดูดความชื้นมาก่อนหน้าแล้ว (regeneration process) วิธีการทำงานคือ นำลมแห้งที่มีค่า pressure dew point ติดลบปล่อยให้วิ่งผ่านเม็ดสารที่มีสภาพชื้น โดยลมแห้งจาก Tower A วิ่งผ่าน nozzle เข้าทางด้านบนของ Tower B และออกทางด้านล่าง ผ่าน silencer ที่ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ดูดซับเสียง ลมที่สูญเสียจากการ purge เพื่อฟื้นสภาพเม็ดสารจะอยู่ที่ราว 16 - 20% และการทำงานของเครื่องทำลมแห้งชนิดเม็ดสาร (desiccant air dryer) จะทำงานสลับกันระหว่างถัง Tower A และ Tower B โดยใช้วาล์วไฟฟ้า actuator valve เป็นตัวควบคุมการทำงาน