ปัจจุบัน trend sustainability มีบทบาทอย่างมากในหลายๆ กลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งเมื่อเราพูดถึงคำ คำหนึ่งที่มักพูดกันอย่างติดปากคือ Carbon Footprint
ถ้าจะอธิบายอย่างง่าย Carbon footprint คือ ปริมาณ carbon ที่ถูกผลิตออกมาสำหรับการผลิตตัวสินค้านั้นๆ ซึ่งองค์ประกอบของ carbon footprint จะแบ่งแยกย่อยเป็น 3 หัวข้อได้แก่
คาร์บอนฟุตปริ้นของมนุษย์ (Carbon Footprint of human) คือปริมาณ carbon ที่ถูกผลิตออกมาโดยมนุษย์
คาร์บอนฟุตปริ้นของสินค้า (Carbon footprint of product) ปริมาณ carbon ที่ถูกผลิตออกมาจากตัว raw material ที่นำมาทำเป็นตัวสินค้า
คาร์บอนฟุตปริ้นขององค์กร (Carbon Footprint of Organizations) คือ ปริมาณ carbon ที่ถูกผลิตออกมาจากองค์กร ซึ่งจะแยกย่อยได้เป็นอีกทั้งหมด 3 อย่างได้แก่
3.1 แบบ Direct หรือแบบทางตรงเช่น การเผาขยะทำให้เกิด carbon ออกสู่อากาศได้อย่างชัดเจน การเดินทางโดยใช้ยานพาหนะ ขององค์กร ก็จะเกิดมลพิษแก่ท้องถนน
3.2 แบบ Indirect หรือแบบทางอ้อม คือ การใช้พลังงานไฟฟ้าที่ไม่ได้ผลิตเอง ซึ่ง concept หลักๆนั้นมาจากว่า ประเทศไทย โรงไฟฟ้าส่วนใหญ่นั้นเป็นโรงไฟฟ้าแบบถ่านหิน เมื่อเราใช้ปริมาณไฟฟ้า เท่ากับว่าเรานำถ่านหินไปเผาทำให้เกิด carbon และก่อมลพิษได้
เมื่อเรารู้แล้วว่า การใช้พลังงานไฟฟ้าที่ไม่ได้ผลิตเองนั้น เป็นการก่อให้เกิดปริมาณ carbon แบบทางอ้อมซึ่งในระบบอัดอากาศพลังงานไฟฟ้าก็ยังเป็นต้นกำลังเพื่อให้ได้ลมอัดออกมาใช้งาน เราจึงพยายามให้ความรู้ข้อมูลแก่ผู้ประกอบการถึงเรื่องการลดการใช้ค่าพลังงานโดยเปล่าประโยชน์
ปรับตั้งค่า pressure ใช้งานให้เหมาะสม ในกรณีที่เราใช้ pressure ที่ 6 bar ไม่ได้มีความจำเป็นที่จะตั้งค่า pressure ขึ้นที่ 8 bar เนื่องจากว่า ค่า pressure ที่เราตั้งสูงขึ้น 1 bar นั้น จะทำให้กินไฟมากขึ้นประมาณ 7%
การเดินท่อลมในโรงงานให้ถูกต้องตามหลักการมาตรฐาน จะต้องเดินเป็นแบบ ring loop เนื่องจากว่าการเดินแบบ ring loop นั้น จะทำให้ไม่เกิด pressure drop ที่ปลายทาง แต่ถ้าเราเดินแบบ Branch main หรือเดินแบบก้างปลา สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ pressure drop ที่ปลายทาง ซึ่ง บุคลากรที่ดูแลตรงเครื่องปั๊มลมก็จะไปตั้งค่า pressure ต้นทางให้ขึ้นไปเพื่อให้ปลายทางใช้งานได้ ทั้งนี้จากข้อที่ 1 Pressure ที่สูงขึ้น 1 bar จะกินไฟเพิ่มขึ้นประมาณ 7%
การเลือกใช้งานเครื่อง air compressor ให้เหมาะสมกับความต้องการลมของโรงงาน เช่น โรงงานต้องการ ใช้ลมประมาณ 70% เราจะมีการ design air compressor ขึ้นไปที่ 100% เพื่อให้มีช่วงระยะเวลา Unload ประมาณ 30% ทั้งนี้ถ้าเลือกเครื่องที่ใหญ่มากเกินไปค่า %Unload ก็จะสูง ซึ่งช่วง Unload เมื่อมี %ที่เยอะนั้นจะทำให้เราสูญเสียค่าไฟโดยเปล่าประโยชน์ โดยปกติแล้วไม่ควรเกิน 30% แต่ถ้าผู้ประกอบการท่านใดมีการตรวจเช็คแล้วว่า เครื่องปั๊มลมสกรูของเรานั้นมีค่า Unload ที่สูงเกินมาตรฐาน สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีติดตั้ง Inverter เพื่อ control ระบบ ให้ผลิตลมได้ตรงตามความต้องการใช้งาน
เลือกใช้ air compressor ที่เป็น เทคโนโลยีปัจจุบัน เนื่องจากว่า จะสามารถทำปริมาณลมได้สูงกว่า ยกตัวอย่างเช่น air compressor แบรนจีน ขนาด 20hp ทำปริมาณลมได้ 2.0 m3/min แต่ air compressor แบรน delta ทำปริมาณลมได้ 2.6 m3/min ซึ่งจะเห็นว่าเราจ่ายค่าไฟเท่ากันแต่เราได้ลมออกมาใช้ไม่เท่ากัน ทั้งนี้เรื่องของต้นทุนต่อหน่วยลมที่ใช้งานก็มีความสำคัญมากเช่นกัน
เมื่อเราทราบแล้วว่าวิธีการลดค่าไฟใน ระบบอัดอากาศสามารถทำโดยวิธีไหนได้บ้าง เราสามารถ วัดผลก่อน และหลักดำเนินการเพื่อหาค่า Kwh ที่สามารถลดลงไปได้
Emission = Activity data x Emission factor
Carbon saving = การลดใช้พลังงานไฟฟ้า (Kwh) x 0.5610 (kgCo2e/Kwh)