สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ (Geo-politics) ครั้งสำคัญของโลก ได้ส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) โลกพุ่งสูงขึ้นถึง 30 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู จากอดีตเคยอยู่ระดับ 10 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู ซึ่งไทยใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าถึง 60% ของเชื้อเพลิงทั้งหมด ย่อมส่งผลกระทบต่อราคาค่าไฟฟ้าโดยปริยาย2. สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ปริมาณสำรองไฟฟ้าของประเทศสูงขึ้น 36% จากอดีตเคยอยู่ระดับ 15% ของปริมาณไฟฟ้าที่พึ่งพาได้ทั้งหมด (Dependable capacity) เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจากผลพวงของโควิด-19 ส่งผลให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว การผลิตไฟฟ้าที่สูงเกินปริมาณความต้องการใช้ย่อมเป็นต้นทุนค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น แต่ต้องยอมรับว่าเป็นเหตุการณ์ที่กระทบไปทั่วโลกและอยู่เหนือการคาดการณ์ใดๆ สำหรับกรณีนี้3. การเปลี่ยนแปลงด้านราคาพลังงานยังได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน และสถานการณ์เศรษฐกิจโลก นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ผลักดันต้นทุนราคาเชื้อเพลิงและพลังงานที่ผลิตให้มีราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย ย่อมส่งผลต่อค่าไฟฟ้าทั้งในภาคครัวเรือน รวมถึงภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ ซึ่งมีการใช้ไฟฟ้าถึง 75% ของประเทศ ให้มีต้นทุนด้านพลังงานที่สูงขึ้นด้วย4. เรื่องสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมาประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้ากว่า 60% (ใช้ถ่านหินประมาณ 15%) โดยคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ นอกจากนี้ เหตุที่ทั่วโลกมีนโยบายด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทั่วโลกรวมถึงไทยต้องหันมาผลิตไฟฟ้าจากการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น ซึ่งของคุณภาพดี มักสัมพันธ์กับราคาต้นทุนที่สูงขึ้นเป็นธรรมดา (ราคาเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ โดยเฉพาะ LNG นำเข้า ส่งผลให้ต้นทุนผลิตไฟฟ้าสูงกว่าการใช้ถ่านหินกว่า 3-5 เท่าตัว)