1. ช่วงระยะเวลา load คือ ช่วงที่ปั๊มลมสกรูทำงาน กินไฟ 100% และวาล์วขาเข้าเปิดสุด จะทำให้ปั๊มลมสกรูผลิตอากาศอัดออกไปใช้งาน โดยปกติแล้วตามการคำนวณจะดีไซน์ไว้ให้มีช่วงระยะเวลา load 70% อาจจะมาหรือน้อยตามแผนการเพิ่มเครื่องจักรในอนาคตอีกครั้ง
2. ช่วงระยะเวลา unload คือ ช่วงที่ปั๊มลมสกรูทำงาน และกินไฟอยู่ที่ 30% แต่วาล์วขาเข้าปิดสนิท ซึ่งช่วงนี้จะเห็นได้ว่ามีการกินไฟ แต่ไม่ได้ลมอัดออกไปใช้ โดยปกติแล้วการตั้งค่า ของปั๊มลมสกรูของทาง ปั๊มลมเดลต้า จะถูกตั้งให้มีค่า Unload อยู่ที่ประมาณ 6-7 นาที ถ้าเกินจากนั้นปั๊มลมสกรูจะตัดการทำงาน หรือที่เรียกว่าเข้าสู่ mode standby นั้นเอง
เพิ่มเติม โหมด Standby ณ ปัจจุบัน ปั๊มลมสกรูเกือบทุกรุ่นจะมีโหมด standby เพิ่มเติมเข้ามา เนื่องจากว่า ถ้าปั๊มลมมีการ unload ที่นานเกินไป จะทำให้มีการกินไฟโดยเปล่าประโยชน์ และจากการทำงาน ถ้าปั๊มลมสกรูมีการ Unload นานเกินไป สามารถวิเคราะห์ได้เลยว่า กระบวนการผลิตมีการหยุดการทำงานจึงไม่มีการใช้ลมเกิดขึ้นทำให้ Pressure ในถังลมมีค่าที่คงที่
ข้อควรระวังสำหรับหลาย ๆ โรงงาน เช่นบริษัท ผลิต auto part เครื่องจักรบางตัวไม่ได้มีการใช้ลม แต่ปั๊มลมยังมีการทำงานแบบ Load – Unload สาเหตุหลักๆมาจาก ลมที่ถูกการใช้งานไปนั้นถูกใช้ไปในการจ่ายลมรั่วภายในระบบท่อลม ซึ่งกรณีนี้ถือว่าเป็นการสิ้นเปลืองอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่นมีลมรั่วขนาดรู 2 มิลลิเมตร ที่ 6 bar ตลอดเวลา ถ้าเราแปลงค่ามาเป็นตัวเงินที่สูญเสียไปแล้วนั้น เป็นมูลค่าหลักแสนบาทเลยทีเดียว จึงควรระวังและ หมั่นตรวจสอบการใช้งานอย่างตลอดเวลานะครับ
อีกประเด็นที่ค่อนข้างหน้าสนใจเกี่ยวกับ Load – Unload คือ ทำไมปั๊มลมสกรูถึงมีค่า Unload ที่เยอะ และข้อเสียคืออะไร ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้เรื่องนี้อย่างลึกซึ้งครับ
ปั๊มลมสกรูโดยทั่วไปที่มีระบบ load - unload จะถูกออกแบบไว้ ให้มีค่า Unload ประมาณ 20-30% แต่เมื่อเรามีการใช้งานจริงๆแล้วนั้น ค่า Unload จะแตกต่างกันไป เมื่อเราพบว่าค่า unload มีค่า มากกว่า 30% จะทำให้เกิดการสิ้นเปลืองไฟโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งสาเหตุหลักๆ มีด้วยกัน 3 อย่างคือ
1. เลือกใช้ถังลมที่มีขนาดเล็กเกินไป
2. ตั้งค่า pressure ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน
3. เลือกซื้อเครื่องปั๊มลมสกรูที่มีขนาดใหญ่กว่าความต้องการใช้งาน
ทั้งนี้วิธีการแก้ไขปัญหาทั้ง 3 ข้อนี้ คือการเลือกซื้อเครื่องปั๊มลมสกรูแบบ Inverter หรือ การติดตั้ง Inverter upgrade ให้ ปั๊มลมตัวนั้น นั้นเอง ถ้าต้องการข้อมูลสำหรับการแก้ไขเพิ่มเติม สามารถติดตามอ่านบทความและสาระดีๆได้จากทาง บริษัท เดลต้า คอมเพรสเซอร์ (เอเชีย) จำกัด