วิธีการเลือกใช้ Air dryer ให้เหมาะสมกับปั๊มลม

วิธีการเลือกใช้ Air dryer ให้เหมาะสมกับปั๊มลม


1 minute read

Listen to article
Audio is generated by AI and may have slight pronunciation nuances.

แน่นอนว่า ปัจจุบันการใช้งานปั๊มลมสกรูค่อนข้างแพร่หลาย หลายๆโรงงานเริ่มมีการเปลี่ยนการใช้งานจากเครื่องปั๊มลมแบบลูกสูบมาเป็นการใช้งานปั๊มลมแบบสกรูแทน เนื่องจากว่ามีประสิทธิภาพที่ดีกว่า อีกทั้งยังได้คุณภาพลมที่ดีกว่า และรองรับการใช้ลมที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตได้อย่างดี หลายๆ โรงงานที่เปลี่ยนจากปั๊มลมลูกสูบมาใช้งานปั๊มลมสกรู หรือแม้กระทั่งผู้ที่ใช้งานปั๊มลมสกรูอยู่แล้วนั้น อาจจะเคยพบปัญหาอาการน้ำไปกับลม ทั้งๆ ที่มี Air dryer อยู่แล้ว 

ในหัวข้อนี้ เราจะมาลงลึกถึงวิธีการเลือกใช้ Air dryer ให้เหมาะสมกับขนาดของปั๊มลมกัน

สิ่งที่เราควรทราบจะมีดังนี้

1. อุณหภูมิของที่ ที่เราใช้งานลม จะเป็นข้อสังเกตในการเลือกชนิดของ dryer

  • จุดใช้งานลมอยู่ในอุณหภูมิห้องหรือปกติ 20-35 องศาเซลเซียส กรณีนี้จะสามารถเลือกใช้ dryer แบบ refrigerant หรือ แบบสารทำความเย็นได้ เนื่องจาก dryer แบบใช้สารทำความเย็น จะสามารถทำ pressure dew point ได้อยู่ในช่วง 3-10 องศาเซลเซียส เมื่อลมที่ผ่าน air dryer แล้วนั้นจะไม่ก่อให้เกิดน้ำในระบบ
  • จุดใช้งานลมอยู่ในรูปแบบของห้องเย็น การใช้งานรูปแบบนี้จะต้องใช้ dryer ที่สามารถทำ pressure dew point ได้ต่ำกว่า อุณหภูมิของจุดใช้งาน ส่วนมากจะเลือกเป็นแบบ desiccant air dyer เนื่องจากรูปแบบนี้ จะสามารถทำอุณหภูมิได้ต่ำมากถึง -70 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว โดยในระบบจะเป็นการใช้เม็ดสารดูดความชื้นออกจากระบบลม

2. ปริมาณลมของเครื่องปั๊มลมแบบ เราจะต้องทราบก่อนว่า ที่เราติดตั้งใช้งานนั้นจะไปใช้งานกับปั๊มลมขนาดเท่าไร มีปริมาณลมที่ผลิตได้เท่าไร และ pressure ที่ใช้งานอยู่ที่เท่าไร เนื่องจาก ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นตัวนำมาคำนวณ factor ในการเลือกใช้งาน air dryer เช่น

  • ปริมาณลมที่เครื่องปั๊ม สกรูสามารถผลิตได้นั้น อยู่ที่ 10.8 m3/min
  • Pressure ใช้งานอยู่ที่ 7 bar
  • อุณหภูมิของลมที่เข้าสู่เครื่อง air dryer อยู่ที่ 65 องศาเซลเซียส

สูตรการคำนวณ

ปริมาณลมของ air dryer = ปริมาณลมของเครื่องปั๊มลม x (อุณหภูมิของลม / 45 C) x ( 7 bar / pressure ใช้งาน)

= 10.8 m3/min x (65 C / 45 C) x ( 7 bar / 7 bar)

= 15.6 m3/min

*กรณีต้องการ factor แบบคำนวณเร็วๆ เราสามารถใช้ factor การคำนวณได้ที่ 1.5

ดังนั้น การเลือกใช้ขนาดให้เหมาะสมกับขนาดเครื่องปั๊มลมสกรู เราจำเป็นต้องเลือกเครื่อง dryer ที่รองรับปริมาณลมได้มากกว่า 15.6m3/min ขึ้นไป กรณีที่เราเลือกใช้เครื่องที่มีขนาดเล็กกว่าอาจจะเกิดน้ำในระบบได้จากการที่อุณหภูมิของอากาศเปลี่ยนแปลงตามการคำนวณ ณ สูตรข้างต้น

3. กรณีต้องการเลือกใช้ มากกว่า 1 เครื่องขึ้นไป ณ พื้นที่ตั้งนั้นๆ หลักการคือ เมื่อเราได้ขนาดของ air dryer โดยรวมมาแล้ว เราสามารถเลือกได้ว่าต้องการใช้จำนวนกี่ตัว

ยกตัวอย่างเช่น

ปริมาณลมของ air dryer ที่เหมาะสมในการรองรับปริมาณลมจากปั๊มลมสกรูนั้น อยู่ที่ 15.6 m3/min และเราต้องการเลือกติดตั้ง จำนวนทั้งหมด 2 ตัว

ให้เรานำ capacity รวม หารด้วยจำนวนตัวที่ต้องการเลือกใช้

จะได้ว่า 15.6 m3/min / 2 = 7.8 m3/min เราจะต้องเลือกเครื่อง air dryer ที่มีขนาด มากกว่า 7.8 m3/min ขึ้นไปจำนวน 2 ตัวเพื่อเข้ามาติดตั้ง ณ จุดติดตั้งนั้นๆ

*ข้อควรระวัง 
เมื่อเลือกใช้ dryer ที่มีจำนวนมากกว่า 1 ตัว เราจำเป็นต้องบอกให้มีขนาดเท่าๆกัน ทุกตัว เนื่องจากว่า ถ้าเรามีการเลือกเครื่องใหญ่และเล็กมาผสมการติดตั้งเข้าด้วยกันเครื่องที่ใหญ่กว่าจะมีโอกาสที่ชำรุดได้ไวกว่าเพราะเครื่องที่ใหญ่กว่าสามารถรองรับปริมาณลมได้ปริมาณมากกว่าลมอัดส่วนใหญ่จะวิ่งเข้าสู่เครื่องใหญ่กว่าเสมอจึงมีโอกาสที่เครื่องใหญ่กว่าจะแบกภาระการกำจัดน้ำส่วนมากได้ อายุการใช้งานเลยจะลดลง

ถ้าผู้อ่านบทความนี้ท่านใด ต้องการความมั่นใจในการเลือกใช้งานเครื่องทำลมแห้ง หรือ air dryer สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ บริษัท เดลต้า คอมเพรสเซอร์ (เอเซีย) จำกัด ทางเรามีทีมวิศวกรคอยช่วยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับข้อมูลทางวิศวกรรมแบบครบวงจร


บริษัท เดลต้า คอมเพรสเซอร์ ผู้จัดจำหน่ายปั๊มลมแบบสกรู และเครื่องอัดอากาศ สำหรับโรงงานทุกประเภท คุณภาพสูง ทนทาน แข็งแรง สนใจติดต่อสอบถาม ได้ที่นี่


« Back to Blog

หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมคลิก

www.aircompdelta.com

ส่งอีเมลหาเรา คลิก!

โทรหาเรา คลิก!

x

เดลต้า คอมเพรสเซอร์ (เอเชีย)

Tel 024532374

Fax 024532349 ต่อ 208

Adicomp S.r.l

T. +39 0444 573979

F. +39 0444 809186

ติดตามเราได้ที่

บริษัท เดลต้า คอมเพรสเซอร์ (เอเชีย) จำกัด

133 ถ. กาญจนาภิเษก แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150

Adicomp S.r.l.​

Via Scotte,
836033 Isola Vicentina, Vicenza - ITALY

© Delta Compressor (Asia) ​All right reserved