2. สิ่งที่ได้ออกมา (Output) คือ อัตราการไหลของลมที่เครื่องอัดอากาศสามารถผลิตได้ โดยวิธีการวัดอัตราการไหลของลมนั้นสามารถวัดได้ 3 วิธี ดังนี้
2.1 การจับเวลาในการอัดอากาศเข้าถังลมเป็นการจับเวลาที่เครื่องอัดอากาศผลิตลมเข้าถังลมแล้วนำมาคำนวณหาค่าอัตราการไหลของลม โดยมีวิธีการดังนี้
2.1.1 หยุดเครื่องอัดอากาศและทำการปิดวาล์วขาออกจากถัง
2.1.2 ทำการปล่อยน้ำในถังเก็บลมออกให้หมดและปล่อยลมออกให้ความดันเกจมีค่าต่ำกว่าความดันปกติที่ใช้งาน 1 – 2 บาร์ (เช่น ปกติใช้ลมที่ความดัน 7 บาร์ ควรปล่อยลมออกจนความดันเกจของถังมีค่าต่ำกว่า 6 บาร์)
2.1.3 เปิดเครื่องอัดอากาศ โดยจับเวลาที่ใช้ในการอัดอากาศจาก 6 - 7บาร์
2.1.4 ทำซ้ำตามขั้นตอนที่ 2.1.1 ถึง 2.1.3 จำนวน 3 รอบ เพื่อหาเวลาเฉลี่ยที่ใช้
การวัดอัตราการไหลด้วยการจับเวลาในการอัดอากาศเข้าถังนี้เป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูง และทำได้ง่ายเนื่องจากใช้อุปกรณ์เพียงอย่างเดียวคือ นาฬิกาจับเวลา แต่มีจุดอ่อนอยู่ที่การวัดด้วยวิธีนี้จะต้องทำการหยุดเครื่องอัดอากาศซึ่งอาจจะส่งผลต่อกระบวนการผลิตได้และการทำงานของเครื่องจักรอื่นๆ ได้
2.2 การวัดความเร็วลมขาเข้าเป็นการใช้เครื่องวัดความเร็วลม ( รูปที่ 2) วัดความเร็วลมขาเข้าเครื่องอัดอากาศเพื่อหาปริมาณลมที่เครื่องอัดอากาศดูดเข้าไปใช้ในการอัดอากาศ โดยมีวิธีการทดสอบดังนี้
2.2.1 ทำการถอดตัวกรองอากาศ (Air Filter) ตรงท่อลมดูดของเครื่องอัดอากาศออก
2.2.2 เปิดเดินเครื่องอัดอากาศ
2.2.3 ทำการวัดความเร็วลมขาดูดของเครื่องอัดอากาศ
2.2.4 ทำซ้ำตามขั้นตอนที่ 2.2.1 ถึง 2.2.3 จำนวน 3 รอบ เพื่อหาความเร็วลมเฉลี่ยที่เครื่องทำได้
2.2.5 นำความเร็วลมเฉลี่ยที่ได้มาคำนวนหาอัตราการไหลของลมที่เครื่องอัดอากาศสามารถทำได้จากสูตร Q=Av ; Q = อันตราการไหล A = พื้นที่หน้าตัดของท่อดูดของเครื่องอัดอากาศ และ v = ความเร็วลม หรือเท่ากับ
การวัดอัตราการไหลด้วยการวัดความเร็วลมขาเข้านี้ต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะทางอย่างเครื่องวัดความเร็วลมจึงต้องใช้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและความรู้ในการทดสอบเพื่อให้ได้ผลการทดสอบที่มีค่าแม่นยำและเที่ยงตรง
2.3 การวัดอัตราการไหลของลมในท่อ เป็นการใช้เครื่องมือในการวัดอัตราการไหลของลม (รูปที่ 3) ต่อเข้าไปในท่อลมเพื่อความอัตราการไหลของลมโดยมีวิธีการดังนี้
2.3.1 ทำการเจาะท่อลมหลังจากออกจากเครื่องอัดอากาศโดยตำแหน่งการเจาะต้องอยู่ห่างจากข้อต่อต่างๆ อย่างน้อย 30 เซนติเมตร
2.3.2 ติดตั้งเครื่องวัดอัตราการไหลของลม
2.3.3 เปิดเครื่องอัดอากาศ
2.3.4 เปิดเครื่องวัดอัตราการไหล และทำการบันทึกค่า
การวัดอัตราการไหลด้วยวิธีนี้เป็นวิธีวัดที่ได้ค่าแม่นยำมากที่สุดเนื่องจากเป็นค่าจริงที่วัดได้โดยไม่ได้ผ่านการคำนวณทำให้ได้ค่าที่แม่นยำมากกว่า 2 วิธีแรก แต่มีข้อเสียคือวิธีนี้ต้องมีการเจาะท่อลม การเจาะท่อลมนี้จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการทำและจำเป็นต้องหยุดการใช้ลมเพื่อเจาะท่อลมและอาจส่งผลต่อกระบวนการผลิตได้
ประสิทธิภาพของเครื่องอัดอากาศนั้นสามารถคำนวนได้จากการเปรียบเทียบค่าที่กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการผลิตลม 1 m3/min (Specific Power) ของเครื่องในขณะเต็มประสิทธิภาพหรือตาม Nameplate เปรียบเทียบกับค่าที่วัดได้ปัจจุบันที่เครื่องสามารถทำได้ ทำให้ได้ค่าประสิทธิภาพของเครื่องอัดอากาศในขณะนั้น การคำนวนหา Specific Power สามารถคำนวนได้จากสูตรดังนี้
เครื่องอัดลม หรือ ปั๊มลมอุตสาหกรรมมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในสายการผลิต และ กระบวนการทางอุตสาหกรรม สามารถใช้ได้กับเครื่องมือหลากหลายประเภท การเลือกปั๊มลมอุตสาหกรรมที่เหมาะกับการใช้งานภายในโรงงานนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญ และ จำเป็นอย่างมากเพราะปั๊มลมอุตสาหกรรมที่ดีจะสามารถผลิตอากาศอัดได้เพียงพอต่อความต้องการในการใช้งานปั๊มลมแบบโรตารี่ ( Rotary Air compressor )
เป็นปั๊มลมที่เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เนื่องจากสามารถทำปริมาณอากาศอัด และ แรงดันได้น้อย สามารถใช้งานได้กับเครื่องมือเล็กๆเช่น เครื่องพ่นสี เติมลมยาง เป็นต้น
หากลูกค้าท่าใดสนใจ บริการวัดประสิทธิภาพปั๊มลม ด้วยเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน ทาง Delta compressor พร้อมให้บริการการวัดประสิทธิภาพปั๊มลมสกรูนั้นช่วยให้เราทราบว่า ปั๊มลมสกรูที่โรงงานกำลังใช้อยู่มีค่าประสิทธิภาพอยู่ที่เท่าไหร เมื่อเทียบกับค่าประสิทธิบน Nameplate เพื่อนำค่าประสิทธิภาพนำไปใช้ในด้านการจัดการพลังงาน คำนวนค่าไฟฟ้าภายในโรงงาน หรือ พิจารณาบำรุงและซ่อมเครื่องปั๊มลมสกรูของโรงงานท่าน