เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (Air Compressor) เป็นตัวที่ช่วยการทำงานในการอัดลมให้มีแรงดันสูงตามต้องการ เพื่อเอาไปใช้ในงานหลายๆด้าน ที่เห็นเป็นส่วนใหญ่คือในโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่มากๆ มีการใช้กับร้านเล็กเช่น อู่ซ่อมรถ หรือ ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ แต่จะมีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละที่ เพราะมีความต้องการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมที่เป็นลูกสูบก็จะเหมาะกับอุตสาหกรรมที่เล็กๆ หากเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ก็จะต้องเป็นปั๊มลมพวกประเภทโรตารีสกรูที่ให้ลมปริมาณมากๆ
ปั๊มลมที่เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมสามารถแบ่งออกได้ 6 ประเภท
เครื่องอัดอากาศหรือเครื่องปั๊มลมก็มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้งานให้เหมาะสมกับสถานที่ ซึ่งแต่ละอย่างมีการใช้งานแตกต่างกัน เราจะมาแนะนำถึงปั๊มลมต่างๆ ที่มีการใช้งานในปัจจุบันว่ามีอะไรกันบ้างมาดูกันครับ
1. ปั๊มลมสกรู (Screw Air Compressor) เรียกว่าเป็นที่นิยมในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วๆไป เป็นปั๊มลมสกรูที่มีคุณภาพสูงมีการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้กำลังหมุนเพลาสกรูถึง 2 ตัว มีการทำงานที่มีกำลังผลิตสูงทำให้เกิดแรงอัดอากาศ โดยที่ตัวปั๊มลมสกรูมีการทำงานที่สม่ำเสมอมากกว่าแบบลูกสูบ นอกจากนี้ปริมาณแรงลมขึ้นอยู่กับตัวมอเตอร์ของชุดสกรู หากกำลังสูงแรงอัดอากาศก็จะผลิตอากาศได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถผลิตได้ถึง 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min) และยังทำความดันได้สูงมากถึง 13 บาร์
2. ปั๊มลมกังหัน (Redial and axial flow Air Compressor) เป็นปั๊มลมที่มีการผลิตการจ่ายลมเป็นจำนวนมาก มีลักษณะใบพัดที่เป็นกังหันมีการดูดลมเข้าจากอีกด้านสู่อีกด้านหนึ่ง และด้วยแกนที่มีการหมุนความเร็วสูงรวมกับลักษณะของใบพัดที่เป็นส่วนสำคัญในการผลิตแรงลม จึงสามารถจ่ายแรงลมได้ถึง 170 – 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min)
3. ปั๊มลมลูกสูบ (Piston Air Compressor) การทำงานของปั๊มลมลูกสูบนั้นมีการทำงานโดยมีมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก มีหน้าที่ทำให้เคลื่อนที่ขึ้นลง ทำให้เกิดแรงดูดและแรงอัดอากาศอยู่ภายในกระบอกสูบ ซึ่งมีวาล์วในทางด้านดูดและด้านทางออกทำงานอย่างสม่ำเสมอ โดยถือว่าเป็นปั๊มที่เป็นยอดนิยมมีการใช้งานมากที่สุด เหมาะสมกับการใช้งานมีราคาที่ไม่สูงมากนอกจากนี้ยังสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างง่ายดาย ปั๊มลมลูกสูบสามารถสร้างแรงดันได้ตั้งแต่ 1 Bar ถึง 1,000 Bar แรงอัดก็ขึ้นอยู่กับจำนวนขึ้นการอัด ยิ่งอัดไปมากเท่าไหร่ยิ่งสร้างแรงอัดสูงได้ไปมาก ซึ่งเหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่เล็กจนถึงโรงงานขนาดใหญ่ ปั๊มลมประเภทลูกสูบมีหลากหลายตามท้องตลาด สามารถหาซื้อได้ง่ายซึ่งแต่ละยี่ห้อก็มีข้อดีแตกต่างกันออกไป
4. ปั๊มลมใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Rotary Air Compressor) ปั๊มลมใบพัดเลื่อนนั้นมีจุดเด่นคือ การที่เครื่องหมุนเรียบให้ความสม่ำเสมอ มีอากาศที่ออกมามีความคงที่สม่ำเสมอ ซึ่งเหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการทำงานแบบสม่ำเสมอ โดยที่เครื่องปั๊มนี้จะไม่มีลิ้นหรือวาล์วในการปิดหรือเปิดเพราะมีพื้นที่จำกัดทำให้ร้อนไว แต่สามารถกระจายความร้อนได้มากถึง 4 – 100 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที โดยมีความดันลมอยู่ที่ 4 – 10 บาร์
5. ปั๊มลมไดอะเฟรม (Diaphragm Air Compressor) ปั๊มลมไดอะเฟรม มีการทำงานคล้ายกับปั๊มลมลูกสูบแต่ตัวของไดอะเฟรมจะเป็นตัวกั้นอากาศไม่ให้โดนกับลูกสูบ ลมที่ดูดเข้าไปในเครื่องอัดลมหรือปั๊มลมจะไม่สัมผัสกับที่เป็นโลหะ นอกจากนี้ลมก็จะไม่มีการผสมกับน้ำมันหล่อลื่นสามารถสร้างแรงดันน้ำได้คล้ายกับปั๊มลูกสูบโดยจะขึ้นอยู่กับการอัด ซึ่งปั๊มลมชนิดนี้มีข้อดีคือลมที่ได้มาจะเป็นลมที่ไม่มีการปนเปื้อน ทำให้เป็นที่นิยมในการใช้งานกับโรงงานอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน เช่น ด้านยา ด้านอาหาร เกี่ยวกับพวกสารเคมีต่างๆ และมีข้อดีอีกอย่างคือ มีเสียงที่เงียบกว่าประเภทปั๊มลูกสูบ ทำให้เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการความเงียบไม่มีเสียง
6. ปั๊มลมใบพัดหมุน เป็นปั๊มลมที่มีใบพัดหมุน 2 ตัว โดยมีโรเตอร์ 2 ตัวทำการทำงานหมุนทำให้มีลมดูดจากฝั่งหนึ่งเข้าไปอีกฝั่งหนึ่ง อากาศที่ถูกดูดนั้นจะไม่มีการเปลี่ยนปริมาตร อากาศจะไม่ถูกบีบตัวหรืออัดตัว แต่เมื่ออากาศอัดตัวไปในถังลม ปั๊มลมจะต้องการที่ระบายความร้อนในระดับหนึ่งและจะต้องไม่มีอุณหภูมิที่ไม่ร้อน ไม่มีลิ้น ทำให้ไม่ต้องการหล่อลื่นในการทำงาน และปั๊มลมมีต้นทุนสูง